ข้าวที่ปลูกในไทย
Rice in Thailand               ข้าวที่ปลูกในประเทศไทย  แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
               1. ข้าวไร่  เป็นข้าวที่ไม่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยงในการเจริญเติบโต และมักตาย
     หากมีน้ำขังอยู่นานๆ  แต่ยังคงต้องการความชุ่มชื้นของดิน  เหมือนกับพืชไร่อื่นๆ
่     มักนิยมปลูกกันบนที่สูงหรือตามไหล่เขาในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               2. ข้าวนาสวน  เป็นข้าวที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ทนความลึกของน้ำได้ไม่เกิน
    1 เมตร มักปลูกกันเป็นส่วนมาก  มีประมาณ 84 % ของเนื้อที่นาในประเทศไทย  การ
    ทำนาใช้วิธีดำ
               3. ข้าวนาเมือง เป็นข้าวที่ปลูกในแหล่งที่มีระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตรขึ้นไป เป็น
    ข้าวพันธุ์พิเศษที่เรียกว่า ข้าวน้ำขึ้นหรือข้าวฟางลอยหรือข้าวลอย  เพราะมีลำต้นยาว
    ทอดออกไปแตกแขนงตามข้อและออกรากตามข้อได ้ ปลูกกันมากแถบบริเวณที่ลุ่ม
   มากๆในภาคกลาง   ประมาณ 16% ของเนื้อที่นาในประเทศไทย  การทำนาใช้วิธีหว่าน
                 โดยทั่วไป เมล็ดข้าวมีส่วนประกอบของแป้งอยู่ 2 ชนิด คือ Amylopectin และ 
   Amylose  ข้าวทั้ง 3 ประเภทนี้ แบ่งตามคุณสมบัติที่มีส่วนประกอบของแป้งในเมล็ดไม่
    เท่ากัน ได้ 2 แบบ คือ
                1. ข้าวเจ้า    มีเนื้อเมล็ดใส มี Amylose   เป็นส่วนประกอบอยู่ 14-35 %  เมื่อ 
    ทำให้สุกเมล็ดจะร่วนและสวย ไม่ใคร่ติดกัน  ข้าวเจ้ามีกำเนิดจากแคว้นเบงกอลของ
    อินเดีย เข้ามาในประเทศไทยเพียง 1,000 กว่าปีนี้เอง สมัยนั้นผู้ดีนิยมของจากอินเดีย
    ข้าวเจ้าจึงได้ชื่อว่า เป็นข้าวของเจ้าและถูกย่อลงเหลือเพียง ข้าวเจ้าในที่สุด
                2. ข้าวเหนียว  เนื้อเมล็ดมักสีขุ่นกว่าข้าวเจ้า  ประกอบด้วยแป้งชนิด Amylo-
    pectin เกือบทั้งหมด ทำให้มีความเหนียวมากกว่าข้าวเจ้า

 
     [..ข้าว..] [การผลิตข้าว] [ข้าวกล้อง